บทความ

Salary Transparency

เอาล่ะ อันนี้คือบล็อกแรกของปีแบบจริงๆจังๆ ที่เราจะมาพูดถึงการเรื่องของเปิดเผนเงินเดือนหรือ Salary Transparency กัน

ถ้าเราไม่นับบล็อกรีวิวปีที่ผ่านมากับบล็อกเป้าหมายในปีนี้อ่านะ (ปรบมือ)

แค่เปิดหัวเรื่องมาก็น่าสนใจแล้วใช่มั้ยล่ะครับ

เรื่องของเรื่องคือเราได้มีโอกาสคุยกับทีมบริหาร (เรียกแบบนี้ได้มั้ยนะ คือเค้าเหนือกว่า management level ทั่วๆไปแต่ยังไม่ถึง C-level ) ของบริษัท Software house ที่สิงค์โปรเจ้าหนึ่งมา แล้วพอกลับมาถึงไทยเราก็ได้ฉุกคิดอะไรบางอย่างจากบทสนทนาเหล่านั้น

นั่นคือการที่บริษัทของเขาเป็น Semi-Salary Transparency

คืองี้ ทุกคนลองคิดดูนะว่าจะเปิดอะไรขึ้น ถ้าเงินเดือนของพนักงานทุกคนในองค์กรไม่ได้เป็นความลับอีกต่อไป

เพื่อนๆพนักงานคนอื่นก็ก็สามารถเข้ามาดูเงินเดือนของใครก็ได้ ตั้งแต่แม่บ้านยันผู้บริหาร

บางคนอาจจะมองว่า แล้วไง ?

ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เปิดเผยแบบโจ่งแจ้ง แต่ทุกวันนี้มันก็ใช่ว่าจะเป็นความลัยอยู่แล้ว?

ในขณะที่บางคนอาจมองว่านี่คือหายนะที่ทำให้เสียระบบการปกครอง และจะไม่มีทางยอมให้มันเกิดขึ้นจริง

เรื่อง Salary Transparency ถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนเรื่องหนึ่งเลยก็ว่าได้

ในปัจจุบันเองก็มีบางบริษัทที่เริ่มนำทฤษฏีเรื่อง Salary Transparency มาปรับใช้กันบ้างแล้ว

ซึ่งในปัจจุบันเว็บไซต์ยอดนิยมอย่าง Glassdoor เองก็มี function ที่ให้ผู้ที่ยินยอมเปิดเผยข้อมูลเงินเดือนมาลงรายละเอียดของเงินเดือนของตัวเอง

โดยอาสาสมัครจะต้องกรอก เงินเดือน ตำแหน่งงานที่ทำอยู่ และชื่อบริษัท เพื่อจัดเก็บลงฐานข้อมูลและเปิดให้ผู้คนสามารถเข้ามาค้นหาข้อมูลได้ว่าบริษัทไหน ตำแหน่งอะไรให้เงินเดือนเฉลี่ยแก่พนักงานเท่าไหร่

จากรูปตัวอย่างด้านบนคือรายได้เฉลี่ยของตำแหน่ง Business Analyst ของบริษัท Rakuten ichiba ที่มีคนมาให้ข้อมูลไว้

ซึ่งจะเห็นได้ว่าท้ายที่สุดแล้วเรื่องเงินเดือนเองก็ไม่ใช่ความลับตามที่แต่ละบริษัทต้องการอยู่ดี

หากแต่บางบริษัทเองก็ใช้โอกาสนี้ในการโปรโมทตัวเองในเรื่องของการจ่ายเงินเดือนเช่นกัน

วกกลับมาเรื่องบริษัทที่เราได้ไปเจอมาดีกว่า อะไร Semi-Salary Transparency แล้วมันแตกต่างกับ Salary Transparency อย่างไร

Salary Transparency คือการที่เงินเดือนทุกคนในบริษัท (ย้ำนะว่าทุกคนจริง ๆ แบบไม่มีข้อยกเว้น) ถูกเปิดเผยออกมาอย่างโปร่งใส ทุกคนสามารถดูได้ว่าใครได้เงินเดือนเท่าไหร่

แต่ Semi-Salary Transparency คือการที่เปิดเผยเงินเดือนของพนักงานอย่างโปร่งใส แต่ในขณะเดียวกันก็มีสงวนเอาไว้บางตำแหน่งที่ไม่เปิดเผยออกมา เช่น ตั้งแต่ระดับ C-level ขึ้นไป เป็นต้น

ซึ่งบริษัทที่ผมได้มีโอกาสไปนั่งสนทนากับทีมบริหารที่สิงค์โปรนั้นเป็นอย่างหลัง แต่ทางนั้นเองก็บอกว่าหากเป็นไปได้เขาก็อยากจะพัฒนาให้ข้ามไปสู๋การที่เป็น Salary Transparency ทั้งองค์กรอย่างแท้จริงเช่นกัน

โดยส่วนตัวเอง เราก็มองว่าแนวคิดนี้มันมีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนอยู๋ที่การนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับแต่ละองค์กร

ส่วนถ้าถามว่าที่ไทยมีบริษัทหรือองค์กรไหนนำ Salary Transparency มาปรับใช้แล้วหรือยัง

เท่าที่เรารู้มาเหมือนว่าจะยังไม่มีนะ และเราก็คิดว่าคงจะยังไม่มีภายใน 5 ปีนี้แน่นอน เพราะด้วยนิสัยของคนไทยแล้วหากทำ Salary Transparency จริง ๆ คงจะเกิดความโกลาหลไม่น้อย (ฮา)