เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาในรายการ Moonoi Story Podcast เราได้มีพูดถึงอาการ Imposter Syndrome ไป
ทีนี้เรารู้สึกว่าเรื่องนี้มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจและคิดว่าควรจะหยิบเอามาเล่ากันผ่านช่องทางอื่น ๆ ด้วย ก็เลยตัดสินใจนำสคริป Podcast มาเรียบเรียงใหม่จนออกมาเป็น Blog นี้
Imposter Syndrome คืออะไร
สำหรับ topic ที่เราจะคุยกันวันนี้ ผมจะพาทุกคนเข้าสู่โลกเล้นลับ ที่มีผู้คนซึ่งประสพความสำเร็จจากทั่วทุกมุมโลก มาอาศัยอยู่รวมกัน ซึ่งสิ่งหนึ่งที่พวกเขามีเหมือนกันนั่นก็คือ พวกเขาเชื่อว่าตัวเองไม่เก่งพอ หรืออาการที่เรียกว่า Imposter Syndrome
Imposter Syndrome คือคำเรียกของ โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง หรือ ภาวะรู้สึกแย่กับตัวเอง เป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี 1978 จากบทความที่ชื่อ The Imposter Phenomenon in High Achieving Women ของนักจิตวิทยาคลินิก พอลลีน อาร์ แคลนซ์ และ ซูซาน เอ เอมส์
ลักษณะอาการของโรคนี้สามารถอธิบายได้ว่า มันเป็นการหลอกลวงความสามารถหรือระดับสติปัญญาของตัวเอง โดยคนเหล่านี้มักจะมีความเชื่อว่าความสำเร็จที่ตัวเองได้รับมานั้นเกิดจากโชคช่วย หรือเกิดจากความผิดพลาดของกระบวนการต่างๆ และคิดว่าตัวเองกำลังกลายเป็นบุคคลที่หลอกลวงเพื่อนร่วมงาน และคนรอบข้าง รวมถึงกลัวถูกจับได้ว่าตัวเองไม่ได้เก่งจริง
อาการของคนที่อยู่ในภาวะ Imposter Syndrome มักจะเกิดขึ้นเมื่อตัวเองประสพความสำเร็จในบางสิ่งบางอย่าง เช่น ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ได้รับมอบหมายงานสำคัญ หรือได้รับเลือกให้เข้าร่วมในพื้นที่ความเชี่ยวชาญของตัวเอง
ใครบ้างที่อยู่ในภาวะ Imposter Syndrome
มีคนดังที่มีชื่อเสียงมากมายที่มีความเชื่อว่าตัวเองไม่เก่งจริง ยกตัวอย่างนักแสดงชื่อดังอย่างทอม แฮงค์ส เจ้าของรางวัล academy award ที่ผ่านการแสดงภาพยนตร์และซีรีย์โทรทัศน์กว่า 70 เรื่อง เคยตอบคำถามในการสัมภาษณ์นิตยสารฉบับหนึ่งเมื่อปี 2016 ว่า “เมื่อไหร่กันนะที่พวกเขาจะค้นพบสักทีว่าอันที่จริงแล้วตัวผมน่ะไม่ได้เก่งจริง แล้วเรียกทุกอย่างคืนกลับไปจากผม”
หรือแม้กระทั่งตอนที่หัวหน้าแผนกปฏิบัตการ facebook เชอริล แซนด์เบิร์ก ไปร่วมในงานแสดงสุนทรพจน์หัวข้อ “Felling Like a Fraud” ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และคิดว่าการจัดงานครั้งนี้เป้นการบอกกับเธอโดยตรงว่าเธอกำลังหลอกลวงพวกเราทุกคนอยู่ เธอยังได้พูดถึงเรื่องนี้อีกด้วยว่า “มันยังคงมีวันที่ฉันตื่นขึ้นมาและรู็สึกว่าตัวเองไม่ได้เก่งจริง ฉันไม่แน่ใจเลยว่าฉันควรจะอยู่ในจุดที่ตัวเองกำลังอยู่ในตอนนี้หรือเปล่า”
การสังเกตว่าตัวเองเสี่ยงจะอยู๋ในภาวะ Imposter Syndrome หรือเปล่า
แล้วที้เราจะรู้ตัวเองได้อย่างไรว่าเรากำลังจะกลายเป็นคนที่อยู่ในภาวะ Imposter Syndrome จากงานวิจัยต่างๆ ที่ออกมา จะมีการแบ่งภาวะนี้ออกเป็นระยะต่างๆ 3 ระยะ คือ
- ระยะก่อนเกิดภาวะที่คิดว่าตัวเองไม่เก่ง จะเป็นช่วงเวลาที่ความคาดหวังเกี่ยวกับความสำเร็จในชีวิตของเราต่ำ
- เมื่อเกิดความสำเร็จขึ้นโดยไม่ได้คาดคิด จะเกิดความขัดแย้งกันระหว่างความรู้สึกสองแบบ คือความดีใจที่ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดี กับความรู็สึกที่ว่าตัวเองไม่ควรค่าที่จะประสบความสำเร็จ อันนี้เราจะเรียกว่าความไม่ลงรอยกันของการรู้คิด หรือ Cognitive Dissonance มันคือความรู้สึกอึดอัดไม่สบายใจ หรือเครียดเมื่อเห็นคนอื่นคาดหวังผลสำเร็จที่เกิดจากตัวเรา
- เพื่อหาทางออกจากสภาวะที่ไม่ลงรอยกันนี้ บางคนจึงยกความดีความชอบให้กับปัจจัยภายนอกเช่น ความโชคดี หรือความผิดพลาดบางอย่างกับกระบวนการต่าง ๆ ที่เป็นผลให้เราประสพความสำเร็จ
การดูแลตัวเองเมื่อพบว่าเรามีความเสียงที่จะเป็น Imposter Syndrome
ทีนี้ถ้าเราคิดว่าเราเองกำลังอยู่ในภาวะ Imposter Syndrome เราจะดูแลตัวเองยังไง
อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ผมเชื่อว่าการมี Self-esteem หรือ การมองเห็นคุณค่าในตัวเองที่ดีเป็นวิธีที่ช่วยได้มาก การที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำเป็นเหตุผลกระการสำคัญที่สุดสำหรับผู็เป็นโรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง ดังนั้นหากเราปรับความคิดในจุดนี้ เชื่อมั่นว่าเราเองก็สามารถทำได้เหมือนกัน เชื่อว่าเราเองก็มีจุดที่เก่งบ้างเหมือนกัน ก็จะสามารถบรรเทาอาการ Imposter Syndrome ลงไปได้บ้างไม่มากก็น้อย