เชื่อว่าในช่วง 1 สัปดาห์มานี้คงจะได้ยินใครหลายคนพูดถึง Application ที่ชื่อ Clubhouse กันค่อนข้างบ่อยทั้งใน Facebook และ Twitter
ก่อนอื่นผมขออธิบายแบบคร่าว ๆ กันก่อนว่าแอพ Clubhouse คืออะไร
Clubhouse คือ voice streaming application ที่เราสามารถตั้งห้องเพื่อให้คนอื่น ๆ สามารถเข้ามาพูดคุยใน Topic ที่เราสนใจได้โดยคนในห้องจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ Speaker และ Listener ซึ่งคนที่เป็น Lisener ถ้าต้องการที่จะเข้ามาร่วมพูดหรือมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นก็สามารถกดปุ่มยกมือขออนุญาตมาเป็น Speaker เพื่อแสดงความคิดเห็นได้ และในบรรดา Speaker ก็จะมีบางคนที่เป็น Moderator (mod) เพื่อคอย approve ให้ Lisener มาเป็น speaker ได้
ซึ่งเราเองก็ได้มีโอกาสเข้าไปโลดแล่นใน Clubhouse ในช่วงสองสามวันที่ผ่านมาเข้าไปฟังห้องนั้นบ้างห้องนี้บ้าง สิ่งที่เราสังเกตเห็นคือสังคม Clubhouse ในตอนนี้เป็นสังคมที่ใช้ชื่อนามสกุลจริง และรูปจริงของตัวเองในการตั้ง profile ซึ่งจะแตกต่างกับ facebook ในยุคแรก ๆ ที่คนมักจะหลีกเลี่ยงการใช้ชื่อหรือรูปของตัวเองมาเป็น profile
สำหรับเรา Clubhouse ถือเป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างเปิดกว้างและให้โอกาสคนเข้ามา discuss ในสิ่งต่าง ๆ กันอย่างเปิดเผยและไม่มีข้อจำกัดทำให้นึกย้อนไปถึงรายการวิทยุในสมัยก่อนที่ผู้ฟังทางบ้านสามารถโทรศัพท์เข้าไปในรายการเพื่อคุยกับนักจัดรายการได้แต่สำหรับใน Clubhouse ผู้ฟังไม่จำเป็นต้องโทรเข้าไปในรายการแต่อย่างใด เพียงแค่กดยกมือแล้วรอให้คนที่เป็น mod ของห้องดึงเราขึ้นไปพูด
และสำหรับใครที่อยากจะมีสถานที่เอาไว้พูดคุยแลกเปลี่ยนหรือถกประเด็นในเรื่องที่ตัวเองคนใจกับคนอื่น ๆ ที่สนใจหัวข้อเดียวกันกับเราก็สามารถขอตั้ง Club เป็นการถาวรได้ซึ่งก็จะมีสิทธิพิเศษต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย แต่จากข่าวลือที่ได้ยินมาเหมือนว่ากระบวนการ Approve การขอตั้ง Club นั้นเป็นการทำแบบ manual โดยใช้คนคอย verify จึงทำให้อัตรา club ที่ถูก approve นั้นเป็นไปอย่างเชื่องช้าซึ่งในปัจจุบันเองจำนวน Club ที่ถูก Approve แล้วก็ยังคงมีไม่มากนักและส่วนมากมักจะหนักไปทางสาย Tech เสียมาก
เมื่อคืนวันจันทร์ที่ผ่านมาเราได้มีโอกาสเข้าไปฟังห้องที่บรรดาคนในวงการสื่อเข้ามาพูดคุยถกประเด็นในเรื่องบทบาทของสื่อมวลชนใน Clubhouse อยู่พักหนึ่งและก็โชคดีมากที่ในจังหวะนั้นมี Speaker ท่านหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มคนที่ให้ seeds ใน Clubhouse และค่อนข้างมีข้อมูลเกี่ยวกับ Roadmap ของ Clubhouse อยู่พอสมควร ซึ่ง Speaker ท่านนั้นก็ได้มีการแชร์ข้อมูลในส่วนนี้ออกมาให้คนที่อยู่ในห้องได้ทราบและทำให้ Speaker ส่วนใหญ่ที่เป็นคนในวงการสื่อค่อนข้างเหวอไปตาม ๆ กัน รวมถึงตัวเราเองก็ด้วย
Clubhouse ที่เรากำลังเห็นและกำลังใช้งานกันอยู่นี้เป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งของบรรดา features ทั้งหมดของแอพที่ทางผู้พัฒนาได้มีการ commit ไว้กับนักลงทุนและ Clubhouse แบบ full functional นั้นมีอะไรมากกว่าที่คาดคิดเอาไว้เยอะ
ตัวแอพ Clubhouse นั้นพัฒนาอยู่บน SDKs ที่มีชื่อว่า agora ซึ่งเป็น technology ที่ใช้ในการพัฒนา streaming platform และ main feature ของ Clubhouse นั้นไม่ได้มีแค่ voice stramign เพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงอย่างอื่นด้วยเช่นรองรับการทำ video streaming จากที่เราได้ฟังมาก roadmap ของการทำ video straming ใน Clubhouse นั้นถือเป็นอีกหนึ่ง core features เลยก็ว่าได้ซึ่งมันจะมีบทบาทสำคัญกับ features ต่อๆมาของ Clubhouse ไม่ว่าจะเป็นการ Live shopping ที่ผู้ชมในห้องสามารถกดที่หน้าจอเพื่อ add สินค้าเข้าไปในตระกร้าได้โดยตรง แตกต่างกับการ Live shopping ของ platform อื่น ๆ ที่ผู้ชมต้องมานั่งกรอก code ตามที่ผู้จัด live บอกเพื่อเอาส่วนลดนอกจากนี้ยังสามารถกดยกมือเพื่อเข้ามาสอบถามรายละเอียดสินค้ากันได้เดี๋ยวนั้นประหนึ่งเราไปเดินเลือกซื้อสินค้าตามห้างร้านทั่วไป นอกจากนี้ยังมี features ในส่วนของ tele health สำหรับปรึกษาเรื่องสุขภาพหรือการใช้ Clubhouse สำหรับ Education ที่ปัจจุบัน Clubhouse กำลังพยายามตีตลาดญี่ปุ่นในเรื่องนี้อยู่ หรือแม้กระทั่งการ plugin เข้าไปเป็น feature สำหรับการทำ VR chat
เอาล่ะ ร่ายมายาวละ สำหรับตอนนี้แอพ Clubhouse ยังเปิดให้ใช้งานได้เฉพาะทางฝั่ง iOS แต่ก็แอบเห็นว่าทางผู้พัฒนาได้มี recruit คนเข้าทีม andriod app อยู่บ้างเหมือนกัน คาดว่าอีกสักพักน่าจะสามารถ launch app ทางฝั่งของ andriod ออกมาได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็เห็นหลายคนคาดการณ์ว่าอาจจะมีการจำกัดเฉพาะบาง andriod บางยี่ห้อและบางรุ่นในการใช้งานเนื่องจากความแตกต่างของ hardware quality
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทั้งหมดก็ยังเป็นเพียงแค่การคาดการณ์เบื้องต้นจากข้อมูลที่แต่ละคนมีกันในมือ ส่วนที่ว่าสุดท้ายแล้วแอพ Clubhouse จะเดินต่อไปในทิศทางไหน ทางฝั่ง android จะมีข้อจำกัดด้านรุ่นและยี่ห้อของอุปกรณ์จริงหรือไม่ก็คงต้องรอการประกาศจากทางทีมผู้พัฒนา หรือรอให้มีการจัด town hall ในเรื่องนี้อีกครั้ง